6 เทคนิคเลี้ยงเด็ก ‘สมาธิสั้น’

6 เทคนิคเลี้ยงเด็ก 'สมาธิสั้น' สมาธิสั้น
6 เทคนิคเลี้ยงเด็ก 'สมาธิสั้น' 2

6 เทคนิคเลี้ยงเด็ก “สมาธิสั้น”

—————————————————————————————————————-

โรค “สมาธิสั้น” สาเหตุมาจากสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะในสมองส่วนหน้า ที่ควบคุมเรื่องสมาธิ ความจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ

อาการที่แสดงออกว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น”คือ ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง ซน  ควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ยากและหุนหันพลันแล่น ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก การทำกิจวัตรประจำวัน และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น

1. ลดสิ่งเร้าเพราะสิ่งเร้า เช่น ในสิ่งแวดล้อมที่เสียงดัง สีสันที่ฉูดฉาด

  • เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้สมาธิของลูกน้อยลง ไม่ซื้อของเล่นให้มากเกินไป จำกัดเวลาดูโทรทัศน์ เล่นเกม และคอมพิวเตอร์ หรือทำกิจกรรมหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น กินข้าวด้วยดูทีวีไปด้วย

2. คอยติดตามและตักเตือน

  • เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น กระตุ้นเตือนเด็ก เมื่อถึงเวลาทำงาน เตือนเมื่อหมดเวลาเล่น โน้ตข้อความสำคัญในที่ที่เด็กเห็นได้ง่าย

3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิด ช่วยเด็กหาวิธีแก้ไขจุดอ่อน

  • ไม่พูดคำว่า “อย่าทำ” “อย่าไป” “หยุดเดี๋ยวนี้” เพราะเด็ก “สมาธิสั้น” มักมีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ไม่สำเร็จอยู่แล้ว เมื่อได้รับแต่คำตำหนิติเตียน เด็กจะหมดความมั่นใจ และไม่เคารพตัวเอง ไม่กล้าคิด และจะรอฟังคำสั่ง และทำตามที่ถูกสั่งเท่านั้น

4. ให้รางวัล เด็กจะรู้สึกท้าทาย

  • และมีแรงจูงใจในการทางานมากขึ้น และควรเปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้สนุก และสนใจ ทั้งนี้ การให้รางวัล ถือเป็นแรงจูงใจที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กได้ โดยมีขั้นตอนการให้รางวัลง่ายๆ 

5. ระวังพูดจาไม่พูดมากหรือบ่น ไม่เหน็บแนม

  • ประชดประชัน ไม่ติเตียนกล่าวโทษ บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าต้องการให้ทำอะไร หากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง พ่อแม่ควรใช้วิธีเดินเข้าไปหา จับมือ แขน หรือ บ่า สบตาเด็ก พูดสั้น ๆ จากนั้นให้เด็กพูดทวน หากเด็กไม่ทำก็พาไปทำด้วยกัน

6. มีขอบเขตโดยมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำ

  • เพื่อให้เด็กรับรู้ขีดจำกัด และช่วยควบคุมให้เด็กทำตามง่ายขึ้น เช่น เวลาตื่น เวลานอน เวลาทำการบ้าน อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจมากเกินไป

7. เด็กบางคนไม่ได้เป็น”สมาธิสั้น”จากโรค แต่เป็น”สมาธิสั้นเทียม”ที่เกิดจากการเลี้ยงดู

  • การตัดสินว่าใครเป็นโรค “สมาธิสั้น” ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น

               ผู้ที่เป็นโรค”สมาธิสั้น”บางรายอาจต้องใช้ยารักษา ร่วมกับการปรับพฤติกรรมร่วมด้วย โดยยาที่ใช้จะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นเซลล์สมองให้หลั่งสาร ที่จำเป็นในการช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น มีสมาธิยาวนานขึ้น

                แต่ถ้า “สมาธิสั้น”จากการเลี้ยงดู แค่ปรับพฤติกรรมของเด็ก ปรับทัศนคติของผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เด็กก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้