คู่มือเบื้องต้นดูแลน้องสมาธิสั้น

คู่มือเบื้องต้นดูแลน้องสมาธิสั้น สมาธิสั้น
คู่มือเบื้องต้นดูแลน้องสมาธิสั้น 2

Alpha-B แจกคู่มือเบื้องต้นดูแลน้องสมาธิสั้น

สมาธิสั้น Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder (ADHD) 

อาการที่พบในเด็กสมาธิสั้น

  • อาการขาดสมาธิ Inattention
  • ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง hyperactivity-impulsivity
  • หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ 

อาการทั้งสองแบบร่วมกัน Combined Subtype

ปัจจจุบันการรักษาที่ให้ผลดีที่สุดในผู้ป่วยสมาธิสั้น 

คือ การรักษาแบบผสมผสานหลาย ๆ ด้าน เช่น

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

2.การช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว 

3.การช่วยเหลือทางด้านการเรียน 

4.การรักษาด้วยยา 

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ได้แก่

ลด สิ่งเร้า + เพิ่ม สมาธิ + เพิ่ม การควบคุมตนเอง

ลด สิ่งเร้า  

จัดหาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ ทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใคร รบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เด็กเสียสมาธิ 

หากิจกรรมช่วยเสริมสมาธิ พักผ่อนในที่สงบ เลี่ยงคนพลุกพล่าน 

จำกัดการดูทีวีหรือเล่นคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 30 นาที

เพิ่ม สมาธิ 

กำหนดช่วงเวลาในการทำกิจกรรม ที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ”โดยในวันแรกอาจเริ่มที่15 นาทีก่อน แล้วจึงเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆ

เพิ่ม การควบคุมตนเอง 

เป็นตัวอย่างที่ดีแก่น้อง และจัดทำตาราง เวลาให้ชัดเจนให้มีระเบียบที่แน่นอน

การลงโทษ ควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น งดดูทีวี กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ แทนการใช้ความรุนแรงกับน้อง

ประเมินความก้าวหน้าของน้อง สนใจพฤติกรรม “ถูก” มากว่า ตำหนิดุ ว่า ในพฤติกรรม “ผิด”และควรให้คำชม ให้กำลังใจ หรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป 

ขอบคุณที่มา: สถาบันราชานุกุล, กรมสุขภาพจิต, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

  • https://www.shorturl.asia/2tLZE
  • https://www.shorturl.asia/BuhIU