ข้อสังเกต 2 กลุ่มอาการ ลูกเราเป็น “สมาธิสั้น” หรือ แค่ซนกันแน่…

 

ลูกสมาธิสั้น ลูกซน-1

ถ้าพูดถึงความซนของเด็กๆ นั้น ต้องบอกเลยว่า ไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ซน ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้และสนุกกับสิ่งต่างๆ มีความอยากรู้ อยากลองสิ่งใหม่ๆ ความซนจึงของคู่กันกับเด็กๆ แต่ด้วยความซนของเด็กแต่คนก็จะไม่เท่ากัน บางรายซนเอามากๆ บางรายก็ซนน้อย ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านเกิดความสงสัยและกังวลขึ้นมา ว่าลูกเรานั้นเป็น “สมาธิสั้น” หรือ แค่ซนตามวัยกันแน่นะ…..

“สมาธิสั้น” คือโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทุกช่วงวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก อายุ 3 – 7 ปี อาการจะแสดงต่างกันแล้วแต่บางราย บางรายที่เป็นไม่เยอะจะแสดงอาการหลังอายุ 7 ปี ขึ้นไป และในบางรายที่เป็นมากก็เริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป  

อาการ “สมาธิสั้น” ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง (กลุ่มนี้มักเกิดกับผู้ชาย)  บางรายมีอาการขาดสมาธิ เหม่อลอย วอกแวกง่าย (กลุ่มนี้มักเกิดกับผู้ชาย) และบางรายอาจจะมีอาการสมาธิสั้นร่วมทั้งกลุ่มได้

อาการ “สมาธิสั้น” กลุ่มที่ 1 : อาการอยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น

เด็กกลุ่มนี้ จะมีอาการที่ซนกว่าปกติ อยู่นิ่งไม่ได้ หยุกหยิกตลอดเวลา เนื่องจากมีความบกพร่องในการควบคุมการ แสดงออกทางพฤติกรรม ทำให้เด็กมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กคนอื่นๆ ทั้งการเคลื่อนไหว การเล่น รวมไปถึงจะมีอาการพูดมากกว่าปกติ เสียงกัง โวยวาย  

วิธีสังเกตอาการ “สมาธิสั้น” กลุ่ม อยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น

  • ยุกยิกๆ นั่งไม่นิ่ง หรือนั่งไม่ติดที่ เช่น ชอบลุกจากที่นั่งห้องเรียน
  • มักวิ่งไปวิ่งมา ชอบปีนป่ายมาก
  • พูดมาก เสียงดัง ชอบพูดไม่หยุด  
  • ตื่นตัวตลอดเวลา
  • ชอบพูดแทรกหรือตอบคำถามก่อน ทั้งที่ยังฟังคำถามไม่จบ
  • รอคอยได้ไม่นาน

ถ้าหากมีอาการตามนี้ทั้งหมดทุกข้อหรือมีมากกว่า 4 ข้อขึ้นไป บ่งบอกว่าเด็กกำลังเป็น “สมาธิสั้น” หรือเข้าข่ายสมาธิสั้น

อยู่ไม่นิ่ง-หุนหันพลันแล่น ไม่ใช่อาการซนตามวัยแน่นอน

อาการ “สมาธิสั้น” กลุ่มที่ 2 : อาการขาดสมาธิ

เด็กกลุ่มนี้ จะมีอาการขาดสมาธิ วอกแวกกับสิ่งเร้ารอบตัวได้ง่าย ชอบเหม่อลอย หลงลืม จนทำให้ของหายบ่อย หรือทำงานเสร็จช้า ไม่รอบคอบ ทำให้ขาดความไม่มีระเบียบวินัย

วิธีสังเกตอาการ “สมาธิสั้น” กลุ่ม ขาดสมาธิ

  • เด็กจะไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น วอกแวกกับสิ่งเร้าบ่อย
  • เด็กจะไม่สามารถทำงานที่พ่อแม่หรือครูสั่งได้สำเร็จ
  •  ไม่รับฟังเวลาสอน ชอบทำมึนๆ
  • เด็กจะทำงานผิดพลาดบ่อย เพราะไม่ตั้งใจฟัง ขาดระเบียบวินัย
  • เด็กจะไม่ชอบงานที่ใช้ความคิดหรือสมาธิ ชอบเล่นสนุกมากกว่า
  • ขี้ลืม ทำของหายบ่อย

สาเหตุของโรค “สมาธิสั้น” ส่วนใหญ่จะเกิดได้จากหลายปัจจัย  

  1. กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเป็น “สมาธิสั้น” มีโอกาสที่จะทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้นมากถึง 4-5 เท่า โดยเกิด    จากความบกพร่องของสารสื่อประสาทบางตัวในสมอง  
  2. การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากมารดาที่ ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือได้รับสารเคมี สารตะกั่ว   ขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงปัจจัยการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือช็อคโกแลต มากจนเกินไป การขาดวิตามิน เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ และการดูโทรทัศน์หรือเล่นโทรศัพท์ เล่นเกม มากเกินไปก็เป็นอีกนึงสาเหตุที่ทำให้เป็นโรค “สมาธิสั้น”

การรักษาโรค “สมาธิสั้น” หลักๆ จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน และส่วนใหญ่ควรรักษาแบบทั้ง 2 วิธีร่วมกัน

1.  การให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่องของโรคสมาธิ พร้อมไปกับการดูแลควบคุมพฤติกรรมของเด็กด้วย   

  • คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองทุกท่าน ต้องทำความเข้าใจและยอมรับ กับตัวเด็กเอง ทั้งด้านของพฤติกรรม อารมณ์    การเข้าสังคม รวมถึงการเรียนอีกด้วย ว่าอาการเกิดจากโรค “สมาธิสั้น” และการดูแล ควร ค่อย ๆ เป็นค่อยๆ ไป ไม่ รุนแรง พูดคุยด้วยเหตุผล แล้วค่อยๆ ปรับไปทีละขั้น  

 

2.  การรักษาด้วยยา การพาเด็กไปเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะประเมินระดับความพฤติกรรมของตัว เด็ก  หากมีอาการรุนแรงก็จะได้รับยา สมาธิสั้น มาทาน ถ้าหากเด็กในบางรายไม่มีอาการรุนแรง จะได้รับคำแนะนำ ในการปรับพฤติกรรมมาแทน

( แต่ยา “สมาธิสั้น” จะมีข้อเสียหรือผลข้างเคียงสำหรับเด็กบางราย เช่น มีอาการเบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย ปวดหัว  อาเจียน ง่วงซึม เป็นต้น เด็กแต่ละคนก็จะมีอาการแตกต่างกันออกไป )

 

ทั้งนี้การรักษาแบบใช้ยา “สมาธิสั้น” ก็สามารถใช้ได้กับเด็กบางรายเท่านั้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงต้องมีการ เลือกหาวิธีในการรักษาหรือลดอาการ “สมาธิสั้น” ของเด็ก โดยมีอีกวิธีนึง คือ การเลือกรับประทานอาหารหรือหาอาหารเสริมจะมีช่วยส่วนในการลดอาการดังกล่าวของโรค “สมาธิสั้น” ได้  

  • อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่ว เนื้อไก่ ไข่ เนื้อแดง ปลาแซลมอน โยเกิร์ตไขมันต่ำ หรือชีส
  • อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากชาเขียว (แอล-ธีอะนีน) ที่จะช่วยในการเพิ่มสมาธิ บำรุงสมอง การจดจำที่ดีให้กับเด็กๆ

มีวิจัยเกี่ยวกับ สารสกัดจากชาเขียว (แอล-ธีอะนีน) ว่า เด็ก “สมาธิสั้น” นอกจากจะมีปัญหาเรื่องสมาธิแล้ว มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนร่วมด้วย สารสกัดจากชาเขียว จะช่วยเพิ่มสมาธิ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และกรดอะมิโน L-tyrosine ช่วยลดอาการ “สมาธิสั้น” ในเด็กกลุ่มนี้ได้อีกด้วย

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Alpha-B มีสารสกัด แอล-ทีอะนีน เป็นตัวเดียวที่ช่วยในด้านสมาธิโดยตรง มีปริมาณมากถึง 200 mg.

ด้วยนวัตกรรมใหม่ (Alpha Focus) ที่เข้าไปช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุล ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของน้องให้ดีขึ้น และในงานวิจัยช่วยลดอาการ “สมาธิสั้น” ในเด็กกลุ่มนี้ด้วยค่ะ

 

สิ่งสำคัญในการรักษาและดูแลเด็กๆ ที่เป็น “สมาธิสั้น” คือ ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น ความใส่ใจ ค่อยๆ ดูแล ค่อยๆ รักษา ไม่รีบร้อนและรุนแรง